DEV Community

MrChoke
MrChoke

Posted on • Originally published at Medium on

Vue.js 2 and Vuex 3 with TypeScript

บันทึกไว้สักหน่อยหลังจากใช้ TypeScript กับ Project ที่เขียนด้วย Vue 2 และ ช่วงแรกที่ใช้ Vuex แล้วรู้สึกว่ามันลำบากมาก เพราะประสบการณ์ TypeScript น้อยด้วย แล้วไปเจอคำแนะนำหนึ่งที่ดูแล้วมันน่าจะง่ายสุดสำหรับตอนนี้ ระหว่างรอ Vuex4 + Vue.js 3 ก็มาลองเขียนแบบนี้กันดูก่อนละกัน

ใครมือใหม่ลองเข้าไปศึกษาพื้นฐานได้จาก Clips ของผมก่อน หรือ จะดูของท่านๆ อื่นๆ ก็ได้

Create Vue.js project

vue create vuex-typescript 

โดยเลือก แบบ Manually

หลังจากนั้นก็เลือก packages ที่จะใช้

เราจะใช้หลักๆ ก็คือ TypeScript, Router และ Vuex

ถัดไปรูปแบบของ component ตรงนี้ผมชอบแบบ class-style ค่อนข้างเข้าใจง่ายกว่า

หลังจากนี้ก็เลือกถามถนัด

เมื่อเสร็จแล้วก็สามารถเขียน code ได้แล้วครับ

ตัวอย่าง Code สามารถ clone มาศึกษาได้ที่

mrchoke/vuex-typescript

Demo

Code ที่ได้จาก Vue Cli จะมีตัวอย่างมาให้สองหน้า คือ Home และ About ซึ่งผมได้เปลี่ยนแปลงบางส่วนเพื่อให้เหมาะกับตัวอย่างที่จะกล่าวถึง

ขอบเขตของตัวอย่าง

ตัวอย่างผมจะยกตัวอย่างโดยแบ่งเป็น 3 routes ดังนี้

  • Home หน้าแรก → src/ views/Home.vue
  • Add form สำหรับเพิ่ม record → src/views/Add.vue
  • View สำหรับแสดงผล records ทั้งหมด → src/views/View.vue

โดยผมจะใช้ vue-router สำหรับจัดการหน้าต่างๆ และ vuex สำหรับการเก็บ state ของ records

Vue Router

src/router/index.ts

import Vue from 'vue' import VueRouter, { RouteConfig } from 'vue-router' import Home from '../views/Home.vue' Vue.use(VueRouter) const routes: Array<RouteConfig> = [ { path: '/', name: 'Home', component: Home }, { path: '/add', name: 'Add', component: () => import(/\* webpackChunkName: "add" \*/ '../views/Add.vue') }, { path: '/view', name: 'View', component: () => import(/\* webpackChunkName: "view" \*/ '../views/View.vue') } ] const router = new VueRouter({ mode: 'history', base: process.env.BASE\_URL, routes }) export default router 

Types

src/type/index.ts

ผมสร้าง type ขึ้นมาใช้สำหรับ project นี้โดยเก็บไว้ที่ src/type/index.ts

export class Student { id: number firstname: string lastname: string age: number constructor() { this.id = 0 this.firstname = '' this.lastname = '' this.age = 7 } get fullname(): string { return `${this.firstname} ${this.lastname}` } } export type Students = Student[] export interface RootState { students: Students } 

ซึ่งจะมีอยู่สาม types คือ

Class Student

จะเก็บข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน จะประกอบไปด้วย

  • id → number
  • firstname → string
  • lastname → string
  • age → number
  • fullname → getter → string

Type Students

ประกาศ Type ใหม่ให้เท่ากับ Array ของ Class Student ไว้เก็บ Record ทั้งหมดของนักเรียน

Interface RootState

เป็นโครงสร้างของ state ที่จะนำไปใช้ใน Vuex ซึ่งตัวอย่างผมมีแค่ตัวเดียวคือ students จะเป็น record ทั้งหมดของนักเรียนนั่นเอง

Vuex

วิธีที่ผมจะสาธิตในบทความนี้ไม่ต้องลงอะไรเพิ่มเติมนอกจาก packages ที่จำเป็น เช่น vuex, typescript ซึ่งการเขียนจะล้อตาม source code ของ Vuex ต้นฉบับ ที่มีการประกาศ Type ไว้แล้วซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่

https://github.com/vuejs/vuex/blob/v3.4.0/types/index.d.ts

ถ้าเราเขียน Vuex แบบปกติจะมีโครงสร้างแบบนี้

import Vue from "vue"; import Vuex from "vuex"; Vue.use(Vuex); export default new Vuex.Store({ state: {}, mutations: {}, actions: {}, modules: {} }); 

ซึ่ง Property state จะเป็นหัวใจหลัก พอมาเขียน TypeScript เราก็ต้องกำกับ Type ให้ state หลักซึ่งใน Type ของ Vuex ใช้ชื่อ RootState ซึ่งก็สื่อดี จริงๆ จะใช้ชื่ออะไรก็ได้นะครับ ซึ่งผมได้ประกาศไว้แล้วจากตัวอย่างด้านบน

ต่อไปเราก็แก้ไข src/store/index.ts

import Vue from 'vue' import Vuex, { StoreOptions } from 'vuex' import { RootState, Student, Students } from '@/type' Vue.use(Vuex) const store: StoreOptions<RootState> = { state: { students: [] }, mutations: { UPDATE\_STUDENTS(state, student: Student) { state.students.push(student) }, DELETE\_STUDENTS(state, id: number) { const search = state.students.filter(i => i.id !== id) state.students = search } }, actions: { updateStudents(contex, student: Student) { contex.commit('UPDATE\_STUDENTS', student) }, deleteStudents(contex, id: number) { contex.commit('DELETE\_STUDENTS', id) } }, getters: { students(state): Students { return state.students }, maxId(state): number { return state.students.reduce((max, student) => (student.id > max ? student.id : max), state.students[0]?.id ?? 0) }, total(state): number { return state.students.length }, latest(state): Student { return state.students.slice(-1)[0] } } } export default new Vuex.Store<RootState>(store) 

ผมออกแบบตัวอย่างไว้คือ เราสามารถ เพิ่ม และ ลบ record ของนักเรียนได้ สามารถดึงจำนวน record ทั้งหมด ดึง record สุดท้าย และ ดึงค่า Max ID ได้

สร้าง Store

const store: StoreOptions<RootState> = { ... } 

โดยประกาศ type ให้กับ store เป็น StorageOptions และ ส่ง RootState เข้าไป หลังจากนั้นเราก็สามารถใส่ properties ต่างๆ ของ store เข้าไปได้ ตัว store หลักนี่ค่อนข้างง่ายไม่ซับซ้อนเหมือน module (จะยกตัวอย่างภายหลัง)

State

state: { students: [] } 

การประกาศ state เราต้องประกาศให้ตรงกับ RootState นะครับเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย TypeScript จะโวยวายทันที

Mutations

mutations: { UPDATE\_STUDENTS(state, student: Student) { state.students.push(student) }, DELETE\_STUDENTS(state, id: number) { const search = state.students.filter(i => i.id !== id) state.students = search } } 

จะมีสอง handler คือ

  • UPDATE_STUDENTS จะมี payload เป็น นักเรียนแต่ละคน type Student ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งจะ push ค่าเข้าไปเก็บไว้ใน state students
  • DELETE_STUDENTS จะมี payload เป็นค่า id ของนักเรียน เมื่อรับมาแล้วจะทำการ filter id ตัวนี้ทิ้งไป แล้วปรับค่าของ state students ใหม่

Actions

actions: { updateStudents(contex, student: Student) { contex.commit('UPDATE\_STUDENTS', student) }, deleteStudents(contex, id: number) { contex.commit('DELETE\_STUDENTS', id) } } 

actions จะคล้ายๆ กับ mutations แต่แทนที่จะทำตรงๆ ก็ทำการ commit ผ่าน mutations และ ถ้าใครจะ get/post api จะสามารถทำผ่าน actions ได้เพราะจะสามารถเรียกใช้ async/await ได้

ตัวอย่างผมมีสอง actions คือ

  • updateStudents รับ payload Students มาแล้ว commit mutation
  • deleteStudents รับ payload id มาแล้ว commit mutation

Getters

getters: { students(state): Students { return state.students }, maxId(state): number { return state.students.reduce((max, student) => (student.id > max ? student.id : max), state.students[0]?.id ?? 0) }, total(state): number { return state.students.length }, latest(state): Student { return state.students.slice(-1)[0] } } 

ปกติถ้าเขียนไม่ซับซ้อนมากนักเราสามารถเรียกค่าจาก state ตรงๆ ใน component ได้เลยแต่บางครั้งเราต้องทำการประมวลผลก่อน การที่จะทำผ่าน computed ของ component ซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้งก็ไม่ค่อยสวยนัก ก็เรียกผ่าน getters จะสวยกว่า

ตัวอย่างผมจะทำการดึงค่า 4 ค่าไปใช้ดังนี้

  • students ดึง records ทั้งหมดไปใช้จะเห็นว่าผม return state.students ไปเฉยๆ แบบนี้เราสามารถเรียกผ่าน computed ก็ได้เล่น computed: { students () { return this.$store.students } }
  • maxId ผมจะดึงค่า ID ล่าสุดไปใช้สำหรับสร้าง ID ใหม่
  • total ดึงจำนวน records ทั้งหมดไปใช้งาน จริงๆ เราสามารถใช้ length ของ students ใน component ตรงๆ ก็ได้
  • latest ผมดึง record ล่าสุดไปแสดงผล

เมื่อเราประกาศ ส่วนต่างๆ ครบแล้วก็ทำการ export Store

export default new Vuex.Store<RootState>(store) 

จะเห็นว่าเราใช้ Type RootState ตรงนี้อีกครั้ง แค่นี้เราก็ได้ Vuex ที่ support TypeScript แบบไม่ซับซ้อนมาก และ ไม่ต้องหาอะไรมาเพิ่มเติมด้วย

Mixin

ผมแยกส่วนประกาศที่ต้องใช้บ่อยๆ ใน component คือ Vuex มาเก็บไว้เป็น mixin โดยสร้างไว้ที่

src/mixin/index.ts 

และทำการประกาศดังนี้

import { Component, Vue } from 'vue-property-decorator' import { mapActions, mapGetters } from 'vuex' @Component({ computed: mapGetters(['students', 'maxId', 'total', 'latest']), methods: { ...mapActions(['updateStudents', 'deleteStudents']) } }) export default class Utils extends Vue {} 

หน้าที่ของ mixin คือการนำเอาสิ่งที่ต้องใช้บ่อยๆ เช่นค่า data object, methods และ computed เป็นต้น มารวมไว้จะได้ไม่ต้องประกาศซ้ำๆ ตาม components ต่างๆ

ตัวอย่างผมสร้างไว้ชื่อ Utils แล้วทำการ mapActions และ mapGetters จาก Vuex ไว้ โดย เอา

  • mapGetters ไปแปะใน computed จะเห็นชื่อของ getters ที่สร้างไว้
  • mapActions ไปแปะใน methods จะเห็นชื่อ actions ที่สร้างไว้

การเขียน Vue.js แบบ TypeScript ที่ผมเลือกตอนสร้างจะเป็นแบบ class-style ซึ่งล่าสุด Vue Cli จะเลือก vue-property-decorator มาให้เลย

Components

เมื่อเราได้ store เสร็จแล้ว มี mixin เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเขียน components เพื่อแสดงผลได้แล้ว

src/views/Add.vue

<template> <div class="about"> <h1>Add New Student</h1> <div><label>FirstName:</label><input type="text" v-model="student.firstname" /></div> <div><label>LastName:</label><input type="text" v-model="student.lastname" /></div> <div><label>Age:</label><input type="number" max="50" min="7" v-model="student.age" /></div> <div> <button @click="addNew()">Add</button> </div> <hr /> <h2>Total</h2> <div>{{ total }}</div> <div v-if="latest"> <h2>Last Record:</h2> <table> <thead> <th>ID</th> <th>FullName</th> <th>Age</th> </thead> <tr> <td>{{ latest.id }}</td> <td>{{ latest.fullname }}</td> <td>{{ latest.age }}</td> </tr> </table> </div> </div> </template> <script lang="ts"> import { Component, Vue } from 'vue-property-decorator' import Utils from '@/mixin' import { Student } from '../type' @Component({ mixins: [Utils] }) export default class Add extends Vue { maxId!: number updateStudents!: (student: Student) => void student = new Student() addNew() { const newId: number = this.maxId + 1 this.student.id = newId this.updateStudents(this.student) this.student = new Student() } } </script> 
  • ใน template ผมสร้าง input มารับค่าต่างๆ คือ firstname, lastname และ age และ ปุ่มสำหรับ add ข้อมูล
  • ใน script ผมเขียนแบบ class style โดยส่วนบนจะ import mixin และ type Student มาด้วย

@component เป็น decoration ที่สามารถจัดการพวก components ที่จะเอาเข้ามาใข้ จัดการ mixin จัดการ พวก mapGetters mapActions เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับการเขียนแบบ javascript ธรรมดา

ตัวอย่างจะเห็นผมเรียกใช้ mixin ตรงส่วนนี้

@Component({ mixins: [Utils] }) 

เมื่อประกาศตรงนี้แล้วเราก็จะสามารถเรียกใช้ ค่าที่เรากำหนดใน mixin ได้เลยโดยเฉพาะใน template เรียกใช้ได้ทันที แต่ถ้าจะเรียกในส่วนของ Class จะต้องประกาศเพิ่มเติม ตามตัวอย่าง

export default class Add extends Vue { maxId!: number updateStudents!: (student: Student) => void student = new Student() addNew() { const newId: number = this.maxId + 1 this.student.id = newId this.updateStudents(this.student) this.student = new Student() } } 

การประกาศ data object แบบ javascript จะเป็นแบบ

data: function () { return { message: 'hello', foo: 'abc' } } 

แต่ถ้าใช้ TypeScript class style เราสามารถประกาศตัวแปร ด้านบนได้เลย

student = new Student() 

แต่มีข้อแม้ว่า ต้องประกาศพร้อมค่าเริ่มต้นด้วย จากตัวอย่าง students จะกำหนดค่า ด้วยการสร้าง object ว่างๆ จาก new Student() ซึ่งตอนนี้เราสามารถที่จะ v-model input ใน template มายัง object student ได้แล้ว

<input type="text" v-model="student.firstname" /> <input type="text" v-model="student.lastname" /> <input type="number" max="50" min="7" v-model="student.age" /> 

เมื่อเราพิมพ์ค่าในช่องต่างๆ object student ก็จะถูก update ค่าต่างๆ ทันที

ส่วนค่า

maxId!: number updateStudents!: (student: Student) => void 

เป็นในส่วนของ Vuex ที่จะนำมาใช้ในส่วนของ methods ใน class ต้องประกาศ type ให้รู้จักก่อน ซึ่งลอกตามที่ประกาศไว้ใน store ได้เลย แต่ต้องใส่ ! ไว้ข้างหลังชื่อด้วย ถ้าเป็น function ต้องบอกว่า return เป็น type อะไรด้วยโดยใช้ => type

ย้ำอีกทีว่าถ้าใช้ใน template สามารถเรียกใช้ตามที่ประกาศใน mixin ได้เลยไม่ต้องมาประกาศ type ใน class

ทีนี้การเขียนแบบ class style พวก methods และ life-cycles ต่างๆ จะเขียนในระดับเดียวกัน คือจะเป็น method ของ class เช่น

export default class Add extends Vue { get nickname() { // computed return this.nickname } created(){ // created life-cycle } login() { // method login } } 

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

kaorun343/vue-property-decorator

จากตัวอย่างผมมี method สำหรับ เพิ่มชื่อคือ

addNew() { const newId: number = this.maxId + 1 this.student.id = newId this.updateStudents(this.student) this.student = new Student() } 

ซึ่งผมจะเอาค่า maxId จาก store getter มาแล้วบวกเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่ง แล้วทำการ กำหนดให้กับ object หลังจากนั้นก็ทำการ update state เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ clear object เพื่อรอรับค่าต่อไป ตรงนี้ถ้าไม่ clear จะทำให้ค่าที่ได้ผิดเพี้ยนไปได้

เมื่อได้ method ก็สามารถที่จะ กำนหดให้กับ ปุ่มได้แล้ว

<button @click="addNew()">Add</button> 

เมื่อกด add ข้อมูลด้านล่างจะแสดงจำนวนของ record ทั้งหมด และ record ล่าสุด

<div v-if="latest"> <h2>Last Record:</h2> <table> <thead> <th>ID</th> <th>FullName</th> <th>Age</th> </thead> <tr> <td>{{ latest.id }}</td> <td>{{ latest.fullname }}</td> <td>{{ latest.age }}</td> </tr> </table> </div> 

กรอกข้อมูล

แสดงผล

ลอง add ไว้สักจำนวนหนึ่ง แล้วกดไปดูหน้า view

View

<template> <div> <h1>Students list</h1> <hr /> <div v-if="students && latest"> <h2>Total: {{ total }}</h2> <table> <thead> <th v-for="item in Object.keys(latest)" :key="item"> {{ item.toUpperCase() }} </th> <th>ACTION</th> </thead> <tbody> <tr v-for="student in students" :key="student.id"> <td v-for="(item, i) in Object.values(student)" :key="student.id + i + item">{{ item }}</td> <td><button @click="deleteStudents(student.id)">Delete</button></td> </tr> </tbody> </table> </div> <div v-else> <router-link :to="{ name: 'Add' }" tag="button">Add</router-link> </div> </div> </template> <script lang="ts"> import { Component, Vue } from 'vue-property-decorator' import Utils from '@/mixin' @Component({ mixins: [Utils] }) export default class ViewList extends Vue {} </script> 

จากตัวอย่างจะเห็นว่าภายใน class ผมไม่ได้เขียนอะไรเพิ่มเลย ใช้ mixin เข้ามาผมก็สามารถเรียกในส่วนของ template ได้ทันที

view

การใช้ Vuex ทำให้เราสามารถสลับไปมาระหว่าง component ได้โดยค่าจะไม่หายนั่นเองแต่ถ้า page โดน reload ค่าใน Vuex ก็จะหายไปเช่นกัน

Vuex Modules

ถ้าเราจะแยก Vuex ออกเป็น modules ย่อยๆ เพื่อความเป็นระเบียบและ code ไม่รกรุงรักต้องทำยังไง ? ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ดูดังนี้นะครับ

ขั้นแรกต้องสร้าง Type ของ state ที่จำสร้างใหม่ขั้นมาก่อน โดยเพิ่มใน

src/type/index.ts

export class Teacher extends Student { subject: string constructor() { super() this.subject = '' } } export type Teachers = Teacher[] export interface TeacherState { teachers: Teachers } 

สร้าง file module ย่อนใน src/store ได้เลย

src/store/teacher.ts

โดยมีโครงสร้างดังนี้

import { Module, ActionTree, MutationTree, GetterTree } from 'vuex' import { RootState, TeacherState } from '@/type' const state: TeacherState = { teachers: [] } const mutations: MutationTree<TeacherState> = { ... } const actions: ActionTree<TeacherState, RootState> = { ... } const getters: GetterTree<TeacherState, RootState> = { ... } export const teachers: Module<TeacherState, RootState> = { state, getters, actions, mutations } 

ถ้าสงสัยว่าพวก

Module, ActionTree, MutationTree, GetterTree 

คืออะไรก็ให้ไปดูใน

https://github.com/vuejs/vuex/blob/v3.4.0/types/index.d.ts

แล้วให้เพิ่มใน src/store/index.ts

modules: { teachers } 

ก็สามารถเพิ่ม module เข้าไปได้เรียบร้อย อาจจะ

หลักๆ ก็มีประมาณนี้เป็นการแนะนำ Vue.js TypeScript แบบสั้นๆ ถ้าสนใจสามารถศึกษาต่อยอดได้

ดู Demo

ใครอ่านจนจบต้องยอมรับเลยว่าอ่านมาได้ยังไงจนจบ 😛

Top comments (0)